ขายเกลือเสริมไอโอดีนถุงเล็ก

เกลือไอโอดีน

  ขายเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ถุงเล็ก ขายส่งเหมาะสำหรับ ร้านค้าปลีก-ร้านค้าส่ง เพื่อจำหน่ายหรือ โรงพยาบาล สาธารณสุข รพ.สต.​ โรงพยาบาลส่งเสริม...

วิธีทำ นาเกลือ สินเธาว์

      วิธีการทำนาเกลือสินเธาว์จะมีลักษณะคล้าย ๆ กันเหมือนกับนา เกลือทะเล จะแตกต่างกันบ้างก็ เพียงการนำน้ำเกลือขึ้นมาตากในนาและระยะเวลาในการตาก กล่าวคือนาเกลือสินเธาว์จะใช้ระยะเวลาในการตากน้อยกว่าเกลือทะเล ทั้งนี้ เพราะน้ำเกลือที่นำขึ้นมาตาก เกลือสินเธาว์จะมีความเข้มขึ้นกว่าน้ำเกลือทะเล คือน้ำเกลือสินเธาว์จะมีความเข้มข้นประมาณ 18-25 ดีกรีโบร เม่ ส่วนน้ำทะเลจะมีความเข้มข้น ประมาณ 4-5 ดีกรีโบร เม่ เท่านั้น

      ขั้นตอนการทำนาเกลือสินเธาว์  เริ่มจากการเตรียมพื้นที่โดยพื้นนาจะต้องบดอัดให้แน่นโดยใช้ลูกกลิ้งกลิ้งโดยรอบ ในส่วนของน้ำเกลือนั้นจะใช้วิธีเจาะขุด เหมือนการขุดเจาะบาดาลโดยทั่วไปแต่จะลึกลงไปประมาณ 40 เมตรขึ้นไปแล้วฝังท่อ PVC ลงไปเพื่อป้องกันการพังถล่ม การนำน้ำเกลือขึ้นมานั้นจะใช้เครื่องอัดลมที่มีกำลังสูง เป่าลมลงไปในท่อ น้ำเกลือที่อยู่ใต้ดินจะพุ่งขึ้นมาตามท่อ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตจะมีบ่อพักน้ำเกลืออยู่ เก็บกักแล้วปล่อยไปตามรางน้ำที่จัดไว้ปล่อยทิ้งลงไปในนาโดยปล่อยลงไปในปริมาณพอสมควรแล้วแต่ความต้องการจะเก็บเร็วหรือเก็บช้า ถ้าต้องการเก็บเร็วก็ปล่อยลงไปน้อย ๆ  แต่จะได้ปริมาณเกลือน้อยตามไปด้วย แต่โดยส่วนมากแล้ว ผู้ผลิตจะปล่อยน้ำเกลือสูงจากพื้นนาประมาณ 1 นิ้วมือ ซึ้งในปริมาณนี้จะใช้เวลา ตากประมาณ 7-10 วัน ก็สามารถเก็บเกลือได้ ดั้งนั้นในปีการผลิตหนึ่ง ๆ จะสามรถเก็บเกลือได้ 10-15 ครั้ง

สีของเกลือ


เกลือมีสีและไม่มีสี ในหลายๆกรณี สีและความใสจะถูกกำหนดโดยขนาดของรูปผลึก

เกลือมีด้วยกันในหลายๆสี ตัวอย่างเช่น


สีเหลือง (โซเดียมโครเมต) Sodium chromate
สีส้ม (โพแทซเซียมไดโครเมต) It tracks the potassium chromate
สีฟ้า (คอปเปอร์ซัลเฟตเพนตะไฮเดรต,เฟอร์ริกเฮกซะไซยาโนเฟอร์เรต) S over copper sulfate hydrate, ferric Hague Ferry County's Drug Free
สีม่วง (โฟแทซเซียมเปอร์แมงกาเนต) Four tracks with manganese super premium
สีเขียว (นิคเกิลคลอไรด์เฮกซะไฮเดรต) Nickel chloride hydrate Hague's
เกลือสีขาว (โซเดียมคลอไรด์) Sodium chloride
ไม่มีสี (แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต) Atlanta over magnesium sulfate hydrate
สีดำ (แมงกานีสไดออกไซด์) Manganese dioxide
แร่ธาตุและรงควัตถุส่วนใหญ่ รวมไปถึง สีย้อมอินทรีย์เป็นเกลือ สีของเกลือแต่ละชนิด ขึ้นกับการคงอยู่ของอิเล็กตรอนที่ไม่เกิดพันธะใน d-orbital ของธาตุโลหะทรานซิชัน

การละลายของเกลือ

Solubility of salt


ตัวอย่างความสามารถในการละลายของเกลือบางชนิด


Sodium chloride (NaCl) ละลาย
Silver chloride (AgCl) ไม่ละลาย
Sodium sulfate (Na2SO4) ละลาย
Zinc nitrate Zn(NO3)2 ละลาย
Barium sulfate (BaSO4 ) ไม่ละลาย
Calcium phosphate Ca3(PO4)2 ไม่ละลาย
Magnesium carbonate (MgCO3) ไม่ละลาย


ชนิดของเกลือ เกลือแบ่งออกเป็น


Normal Salts ประกอบด้วย metallic ion และ non-metallic ion ไม่มีไฮโดรเจนไอออนหรือไฮดรอกไซด์ไอออนอยู่ในโมเลกุล
ซึ่งได้จากการแทนที่ไฮโดรเจนของกรดทั้งหมดโดยโลหะ เช่น เกลือแกง ( NaCl )
Acid Salts มีเกลือบางชนิดที่ไฮโดรเจนไอออนในกรดไม่ได้ถูกแทนที่หมดโดยโลหะ เช่น
2 NaOH + H2SO4 Na2SO4 + 2H2O
Normal salt

สารประกอบเกลือ


เกลือ เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยไอออนบวกของโลหะ (a positive metallic ion) (รวมทั้งไฮโดรเจนไอออน) และสารไอออนลบของอโลหะ (a negative nonmetallic ion) (รวมทั้ง hydroxide ion) หากเกลือละลายในน้ำจะได้ ion บวกและ ion ลบ เช่น
NaCl Na+ + Cl-
sodium chloride sodium ion chloride ion
K2SO4 2K+ + SO4-
potassium sulfate
เกลือเป็นคำทั่ว ๆ ไปที่เรียกกัน ความจริงเกลือเป็นสารประกอบซึ่งมีหลายชนิด อย่าได้เข้าใจว่าเกลือทุกชนิดคือเกลือแกง ( NaCl ) เกลือบางชนิดมีรสเปรี้ยว, บางชนิดมีรสเฝื่อนหรือขม, บางชนิดมีรสเค็ม, บางชนิดละลายน้ำ, บางชนิดไม่ละลายน้ำ, บางชนิดละลายน้ำได้เล็กน้อย ดังเช่น
เกลือที่ละลายน้ำ ได้แก่ เกลือโซเดียม, เกลือโปตัสเซียม, เกลือแอมโมเนียม, เกลืออาซีเตท (acetate) , เกลือไนเตรท (nitrate) , เกลือของคลอไรด์ (ยกเว้นคลอไรด์ของเงิน ตะกั่ว และ ปรอท)
เกลือซัลเฟต (ยกเว้นเกลือซัลเฟตของแคลเซียม แบเรียม และตะกั่ว)
เกลือที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่
? คาร์โบเนท ( carbonate ) ยกเว้น โซเดียม, โปตัสเซียม และ ammonium
? ฟอสเฟต ( phosphate ) ยกเว้น โซเดียม, โปตัสเซียม และ ammonium
? ซัลไฟด์ ( sulfides ) ยกเว้น โซเดียม, โปตัสเซียม และ ammonium

เกลือเคมี  ^-^

เกลือรักษาโรค


คนเราสมัยนี้ชอบมองข้ามสิ่งใกล้ตัว จนทำให้คุณลืมสิ่งดีๆ  หลายๆสิ่งที่คุณปู่คุณย่า
ได้คิดค้นขึ้นแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้ลูกๆหลานๆได้ใช้ดูแลรักษาตัวเอง
ซึ้งหนึ่งในนั้นก็คือเกลือครับ เกลือสามารถนำมารักษาโรคได้หลายโรคครับ
โดยจะมีวิธีนำไปใช้ดังนี้

1.ไอเพราะเป็นหวัด
เพียงแค่คุณเอาน้ำเปล่า 1 แก้ว และผสมเกลือเหยาะๆลงไป 1 ช้อนชา
คนเบาๆจนกว่าจะละลายแล้วใช้บ้วนปากกลั้วคอหลายๆครั้ง
ความเค็มจะเข้าไปละลายเสมหะในคอ ทีนี้คุณก็จะไม่มีอาการไอให้รำคาญใจครับ

2.มึนหัว สมองไม่แล่น~
เพียงแค่คุณรองน้ำอุ่นๆให้เต็มถัง และหยอดเกลือลงไป2-3ช้อนชาแล้วนำมาอาบ
รับรองสมองคุณจะแล่นปรี๊ด เพราะเกลือจะเข้าไปกระตุ้นให้เลือดลมหมุนเวียนดีขึ้น
มีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองครับ

3.เร่งให้อาเจียน
ถ้าบังเอิญคุณได้รับสารพิษเข้าไป หรืออึดอัดอาหารไม่ย่อย จนต้องทำให้อาเจียนออกมา
ให้คุณดื่มน้ำเกลือเข้มข้นแก้วใหญ่ๆ ไม่นานจะได้อาเจียนสมใจ

4.คัดจมูก
จะแค่คัดจมูกธรรมดา หรือลุกลามจนกลายเป็นโรคจมูกอักเสบก้ตาม ให้ใช้น้ำเกลือ
เจือจางหยอดเข้าไปรูจมูกทั้งสองข้าง น้ำเกลือจะช่วยเข้าไปฆ่าเชื้อโรคในโพรงจมูก
ทีนี้คุณจะหายเป็นปลิดทิ้ง

5.คันตามผิวหนัง
ทาบริเวณที่คันด้วยน้ำเกลือ เชื้อราบริเวณนั้นจะสิ้นฤทธิ์ครับ

6.โรคตาแดง
โรคนี้จะมีเชื้อโรคมีตัวการอยู่เบื้องหลัง แต่เราสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนถึงมือหมอได้
ด้วยการน้ำผ้าขนหนูสะอาดๆ (ถ้าต้มฆ่าเชื้อก่อนได้ยิ่งดี) จุ่มน้ำเกลือแล้วน้ำไปเช็ดตา(แสบแน่ๆ= ='')
หลังจากเกลือเข้าไปฆ่าเชื้อโรคแล้ว ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง อาการจะทุเลาลง

7.แผลยุงกัด
ให้คุณรีบใช้น้ำเกลือทาที่รอยแผล ไม่นานความคันจะหายไปและรอยบวมจะยุบเร็วขึ้นด้วย

เรื่องดี ๆ ต้องเอามาแบ่งปัน  ^_^

ประโยชน์ของเกลือ


             เกลือจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และ metabolism ในร่างกาย เช่น เกลือของเหล็ก (iron salt) จำเป็นสำหรับการสร้างฮีโมโกลบิน, เกลือของไอโอดีน (iodine salts) จำเป็นสำหรับการทำหน้าที่ของต่อมไทรอยด์, เกลือของแคลเซียมและฟอสเฟต (calcium and phosphate salts) จำเป็นสำหรับการสร้างกระดูกและฟัน, เกลือของโซเดียมและโปตัสเซียม (sodium and potassium salts) ช่วยควบคุมความสมดุลกรดด่างในร่างกาย, เกลือบางชนิดควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ, บางชนิดควบคุมการเต้นของหัวใจ, ช่วยรักษาระดับ osmotic pressure ของเซลล์, เกลือบางชนิดใช้ประโยชน์เฉพาะทางยา


ตัวอย่างเกลือและประโยชน์ของเกลือ


Potassium iodide (KI) เป็นผลึกขาว เติมลงไปในเกลือแกง เพื่อทำเกลืออนามัย เพื่อเพิ่มไอโอดีนแก่ร่างกาย ใช้เป็น Thyroid treatment ในทางแพทย์
Potassium nitrile (KNO2) , Sodium nitrile (NaNO2) ใส่ในเนื้อกระป๋องหรืออาหารจำพวกเนื้อ เช่น แหนม ไส้กรอก เพื่อให้เกิดสีแดงแก่เนื้อ
Sodium Chloride (NaCl) เป็นผลึกสีขาว ช่วยในการถนอมอาหาร ปรุงรสอาหาร ใช้เป็นน้ำเกลือตามโรงพยาบาล
Sodium Sulfate (Na2SO4) ใช้เป็นส่วนประกอบของผงซักฟอก
Potassium hydrogen tartate (cream of tartar) ผลึกสีขาวใช้เป็นส่วนประกอบของผงฟู
Sodium bicarbonate (NaHCO3) เป็นผลึกสีขาว ใช้ในการแก้น้ำกระด้าง ใช้ในการซักรีดเสื้อผ้า และทางการแพทย์ใช้เป็นยาลดกรด
Potassium aluminium sulfate หรือสารส้ม K2SO4Al (SO4)3.24H2O เป็นของแข็ง ใช้เป็นสารกันฝาดและทำให้ตะกอนในน้ำรวมกัน
Calcium carbonate (CaCO3) ใช้เป็นยาลดกรด (antacid)
Sodium sulfate (Na2SO4) ใช้เป็นยาถ่าย
Magnesium sulfate (MgSO4) ใช้เป็นยาถ่าย
Magnesium carbonate (MgCO3) ใช้เป็นยาถ่าย
Potassium sodium tartate (KNaC4H4O6.4H2O) ใช้เป็นยาถ่าย
Silver Nitrate (AgNO3) ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
Barium sulfate (BaSO4) ใช้ในการเคลือบกระเพาะและลำไส้ ใช้ในการตรวจสอบกระเพาะอาหาร
Ferrous sulfate (FeSO4) แก้โรคโลหิตจาง ( anemia )
Calcium chloride (CaCl2) ช่วยให้เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น
Ammonium carbonate [( NH4 )2CO3.H2O] ใช้เป็นยาขับเสมหะ
ขบวนการสะเทิน (Neutralization) หมายถึงปฏิกิริยาระหว่างกรดกับด่าง เกิดเกลือ และ น้ำ



Sodium sulfate (Na2SO4) หรือเรียกว่า ดีเกลือไทย ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของโซเดียม หรือเรียกง่ายๆว่า "โซเดียมซัลเฟต" มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสเค็ม มีคุณสมบัติเป็นถ่ายพิษเสมหะและโลหิต ถ่ายอุจจาระ ถ่ายพรรดึก [(อ่านว่า พัน-ระ-ดึก) คือชื่อที่ใช้เรียกโรคทางแผนโบราณชนิดหนึ่งที่เกิดจากการที่มีอาหารคั่งค้างอยู่ภายในท้อง ทำให้เกิด อาการท้องผูกอย่างแรง ผู้ป่วยจะมีอุจจาระที่แข็งมาก และมีลักษณะเป็นเม็ดๆ คล้ายกันกับมูลแพะ] ทำให้เส้นเอ็นหย่อน


Magnesium sulfate (MgSO4) หรือเรียกว่า ดีเกลือฝรั่ง ดีเกลือชนิดที่เป็นเกลือซัลเฟตของแมกนีเซียม หรือเรียกว่า "แมกนีเซียมซัลเฟต" เรียกเป็นภาษาสามัญแบบฝรั่งว่า Epsom salts มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวหรือใส คล้ายผงชูรส ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้ มีรสขมฝาด มีคุณสมบัติเป็นยาระบายถ่ายอุจจาระ ถ่ายพิษเสมหะและโลหิต นิยมนำเอามาใช้ในการรักษาปลา และยังมีการนำไปใช้ในการเกษตรเรื่องเอาไปช่วยรักษาดินที่ขาดแมกนีเซียม นอกจากนี้สาวๆ ยังนิยมนำไปเป็นส่วนผสมในการรักษาสิวแบบประหยัดอีกด้วย


เกลือเป็นสารประกอบ


เกลือ เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยไอออนบวกของโลหะ (a positive metallic ion) (รวมทั้งไฮโดรเจนไอออน) และสารไอออนลบของอโลหะ (a negative nonmetallic ion) (รวมทั้ง hydroxide ion) หากเกลือละลายในน้ำจะได้ ion บวกและ ion ลบ เช่น
NaCl Na+ + Cl-
sodium chloride sodium ion chloride ion
K2SO4 2K+ + SO4-
potassium sulfate
เกลือเป็นคำทั่ว ๆ ไปที่เรียกกัน ความจริงเกลือเป็นสารประกอบซึ่งมีหลายชนิด อย่าได้เข้าใจว่าเกลือทุกชนิดคือเกลือแกง ( NaCl ) เกลือบางชนิดมีรสเปรี้ยว, บางชนิดมีรสเฝื่อนหรือขม, บางชนิดมีรสเค็ม, บางชนิดละลายน้ำ, บางชนิดไม่ละลายน้ำ, บางชนิดละลายน้ำได้เล็กน้อย ดังเช่น
เกลือที่ละลายน้ำ ได้แก่ เกลือโซเดียม, เกลือโปตัสเซียม, เกลือแอมโมเนียม, เกลืออาซีเตท (acetate) , เกลือไนเตรท (nitrate) , เกลือของคลอไรด์ (ยกเว้นคลอไรด์ของเงิน ตะกั่ว และ ปรอท)
เกลือซัลเฟต (ยกเว้นเกลือซัลเฟตของแคลเซียม แบเรียม และตะกั่ว)
เกลือที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่
? คาร์โบเนท ( carbonate ) ยกเว้น โซเดียม, โปตัสเซียม และ ammonium
? ฟอสเฟต ( phosphate ) ยกเว้น โซเดียม, โปตัสเซียม และ ammonium
? ซัลไฟด์ ( sulfides ) ยกเว้น โซเดียม, โปตัสเซียม และ ammonium


เกลือขี้ทา

เกลือขี้ทา

เกลือสินเธาว์ เป็นเกลือที่ผลิตได้จากน้ำเกลือหรือ แร่เกลือที่อยู่ใต้ดินมีชื่อเรียกต่างกันตามกรรมวิธีผลิต
เช่น เกลือขี้ทา เกลือสินเธาว์ เกลือบ่อน้ำ เกลือทะเล เกลือตาก เกลือบาดาล ซึ่งการเรียกชื่อจะไม่เหมือนกันตาม ภูมิภาค

      
        เกลือขี้ทา เป็นลักษณะคราบเกลือที่ เกาะติดอยู่บนผิวดิน หรือเกลือที่ปนอยู่กับผิวดิน หรือ เกลือที่อยู่กับผิวดิน เกิดจากน้ำเกลือใต้ดินถูกดึงดูดขึ้นมาสู่ผิวดินด้วยกรรมวิธีธรรมชาติที่เรียกว่าแรงดึงผิว ( Capillary attraction ) น้ำเกลือที่ถูกดึงดูดและค่อย ๆ แซรกซึมขึ้นมาทางช่องว่าง ๆ ระหว่างเนื้อดินหรือทราย จนถึงผิวดินแล้วถูกแสง

อาทิตย์แผด เผาจนน้ำระเห่ยกลายเป็นไอไปหมด เหลือแต่เกลือทิ้งไว้บนผิวดินในลักษณะเป็นคราบ เป็นเม็ด เป็นเกล็ด หรือเป็นตะกรันอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่สภาพของช่องว่างในเนื้อดินที่น้ำเกลือผ่านขึ้นมาโดยปกติเกลือที่มอง เห็นสีขาว ๆ อยู่บนผิวดินจะมีปริมาณไม่มากนัก เพราะเกลือส่วนหนึ่งยังปนหรือชุมโชกอยู่ในเปลือกดิน ดังนั้นจึงต้อง ค่อย ๆ  ขูดเอาเกลือและเปลือกดินมารวมกันเป็นกอง ๆ และละลายลงในน้ำ น้ำก็จะละลายทั้ง เกลือบนดินและ เกลือในดินเข้าด้วยกัน น้ำที่กรอง เศษดินหรือตะกอน ออกแล้วจะกลายเป็นน้ำเค็มเอาน้ำเค็มที่ได้นั้น ไปละลายเกลือในดินกองอื่น ๆ อีก ความเค็มในน้ำจะค่อย ๆ  เพิ่มขึ้น จนกลายเป็น น้ำเกลือ เอาน้ำเกลือไปต้มหรือเคี่ยวจนน้ำแห้งก็จะได้เกลือ ป่น ๆ ที่ชาวบ้านเรียกว่า "เกลือขี้ทา" ส่วน เกลือบาดาลนั้น เป็นเกลือที่ได้จากการต้มเกลือ หรือโดยการตากน้ำ เกลือใน นาเกลือ    

การผลิตเกลือสินเธาว์


การผลิตโซเดียมคลอไรด์(NaCl)
จาก Eduzones Elibrary, สารานุกรมฟรี
การผลิตเกลือสินเธาว์
          เกลือสินเธาว์ผลิตได้จากแร่ เกลือ ( Rock salt ) พบอยู่ตามพื้นดินแถบภาคอีสาน เช่น จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคราม ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี
        การผลิตเกลือสินเธาว์จากเกลือหินโดยทั่วไปใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ใช้การละลาย การกรอง การระเหย และการตกผลึก หรือการละลายและการตกผลึก หรือการละลายและการตกผลึก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของเกลือที่เกิดขึ้นในแหล่งนั้นๆ
1. เกลือจากผิวดิน ทำได้โดยขุดคราบเกลือจากผิวดินมาละลายน้ำกรองเศษดินและกากตะกอนออก นำน้ำ เกลือไปเคี่ยวให้แห้งจะได้ผลึกเกลือ
2. เกลือจากน้ำเกลือบาดาล น้ำเกลือบาดาลจะอยู่ลึกจากพื้นดินหลายระดับ อาจจะเป็น5-10
เมตรหรือ 30 เมตรก็ได้ การผลิตทำได้โดยการขุดเจาะลงไปถึงระดับน้ำเกลือบาดาลและสูบน้ำเกลือขึ้นมานำไปต้มหรือตากจะได้เกลือตกผลึกออกมา
3. เกลือจากเกลือหิน มีลำดับขั้นตอนการผลิตดังนี้
3.1. อัดน้ำจืดลงไปละลายเกลือในชั้นหินเกลือ
3.2. นำสารละลายน้ำเกลือมาเติม NaOH และ Na 2CO 3 เพื่อกำจัด Mg 2+ และ Ca 2+ ดัง
สมการ
Mg 2+ + 2OH - Mg (OH) 2
Ca 2+ + CO 3 2- CaCO 3
กรองแยก Mg(OH) 2 และ CaCO 3 ออกนำสารละลายเกลือไปตกผลึกจะได้ NaCl เมื่อตกผลึกไปนานๆ NaCl ในสารละลายจะลดลงแต่ในสารละลายจะมี NaSO 4 และ Na 2CO 3 ละลายอยู่ เรียกสารละลายนี้ว่า น้ำขม
3.3. นำน้ำขมมากำจัดไอออนต่างๆออก โดยเติม CaCl 2 จะเกิด CaCO 3 และ CaCO 3
ดังสมการ
Ca 2+ + SO 4 2- CaSO 4
Ca 2+ + CO 3 2- CaCO 3
กรองแยกตะกอนออกนำสารละลายที่ได้ไปตกผลึก NaCl ได้อีก

-ปัจจุบันมีการทำนาเกลือบาดาลกันมากบนเนื้อที่ประมาณ 12,000 ไร่ ได้แก่ บริเวณจังหวัดมหาสารคาม นครราชสีมา ร้อยเอ็ด สกลนคร ชัยภูมิ และจังหวัดหนองคาย



ประโยชน์เกลือ


ประโยชน์ของเกลือนอกจากจะผสมในอาหารที่เรารับประทาน  ที่เพิ่มสารไอโอดีน  ช่วยให้คนเราไม่เป็นโรคคอพอกแล้ว
เกลือยังมีประโยชน์อีกมากมาย ทั้งการรักษาอาการโรคต่าง ๆ


1. โรคหวัด เมื่อเป็นจะมีอาการไอไม่หยุด ใช้น้ำเย็นต้มสุกแล้ว 1 ถ้วย ใส่เกลือ 1 ช้อนชา คนให้เกลือละลาย แล้วใช้บ้วนปากล้างคอ

ทำเช่นนี้หลาย ๆ ครั้ง สามารถขจัดเสมหะในหลอดลมได้ อาการไอก็ทุเลา

2. จมูกอักเสบ คัด น้ำมูกไหลไม่หยุด จมุกอักเสบเรื้อรัง ใช้น้ำเกลือเจือจางล้าง ใช้ขวดสะอาดใส่น้ำเกลือหยอดเข้าไปในรูจมูก

เพราะเกลือมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแก้อักเสบ


3. หากมีอาการคอแห้ง เสียงแหบ ให้ดื่มน้ำผสมเกลือเล็กน้อยจะรู้สึกชุ่มลำคอ
4. เร่งให้อาเจียน กินอาหารมีพิษ ดื่มสุราเกินขนาด อาหารไม่ย่อย ท้องไส้ปั่นป่วน ควรดื่มน้ำเกลือเข้มข้น จะทำให้อาเจียนออกมา
5. เป็นโรคตาแดง มีอาการบวมแดง ขี้ตามาก ใช้ผ้าขนหนูสะอาดห่อเกลือเล็กน้อย แช่ในน้ำอุ่นที่เดือดแล้ว ใช้ผ้าขนหนูเช็ดตา

อาจมีอาการแสบบ้างก็ทนสักครู่ จะรู้สึกดีขึ้น
6. รักษาฟัน ใช้เกลือสีฟัน ทำให้ฟันขาวแข็งแรง ป้องกันฟันผุ
7. หากยุงกัดเป็นตุ่ม ใช้เกลือขยี้บริเวณที่โดนกัด สักครู่จะหายคัน ตุ่มจะยุบ
8. ผิวหนังบวมคัน ใช้เกลือผสมน้ำแล้วทาบริเวณที่คัน จะเห็นผลทันตา
9. ถ้ารู้สึกสมองไม่แจ่มใส ใช้เกลือผสมน้ำอุ่นแล้วใช้อาบ จะรู้สึกสบาย สมองปลอดโปร่ง

อรรถประโยชน์

1.ใช้เกลือสำหรับดองผัก ผลไม้ใส่เนื้อเพื่อทำเนื้อเค็มเพื่อเป็นการถนอมอาหารไว้รับประทานได้นาน
2.ใส่เกลือผสมน้ำส้มสายชูดองผักให้ได้รสเปรี้ยว
3.ถ้าจะเก็บน้ำพริกเครื่องแกงเอาไว้ให้นานให้ใส่เกลือจะช่วยไม่ให้เครื่องแกงบูดเสียเร็ว
4.โขลกเกลือกับพริกแห้งก่อนใส่เครื่องแกงจะทำให้โขลกละเอียดเร็วขึ้น
5.โรยเกลือป่นบนมือหลังจากปอกหัวหอมหรือหลังจากทำปลากลิ่นจะหมดไป
6.ผสมเกลือในน้ำล้างผักเพื่อฆ่าเชื้อโรค
7.โรยเกลือป่นเล็กน้อยบนเตาไฟเพื่อช่วยให้ไม่ให้มีเขม่าดำ
8.โรยเกลือป่นเล้กน้อยลงบนกระทะเมื่อทอดปลาหมู เนื้อ ไก่ จะทำให้อาหารไม่ติดกระทะ
9.ใส่เกลือในผักต้มจะทำให้ผักมีสีเขียว
10.ถ้าใส่เกลือป่นเล็กน้อยในจานผลไม้แตงโมมะละกอ สัปะรด สตอเบอรี่ จะทำให้รสผลไม้หวานขึ้น

11.ใช้เกลือทำน้ำปลา กะปิปลาร้า ทำปลาเค็มและเนื้อสัตว์ ทุกชนิดที่จะทำให้แห้งเก็บไว้รับประทานนาน
12.ใส่เกลือในน้ำผลไม้คั้นที่มีรสเปรี้ยวจะทำให้มีรสอร่อย
13.จะเก็บมะขาม เปียกไว้ให้ทนนานไม่ให้ดำ และไม่มีหนอนให้โรยเกลือเม็ดให้ทั่ว เก็บไว้ภาชนะที่มีฝาปิด
14.เขียงที่ทำปลาสดเหม็นคาวให้โรยเกลือป่นจนทั่วแล้วล้างให้สะอาด จะทำให้เขียงหายเหม็นคาวหม้อ ระทะ ที่เหม็นคาว
เมื่อจะนำมาประกอบอาหารให้ใช้เกลือป่นโรยแล้วล้างจะช่วยให้หม้อกระทะหายเหม็นคาว
15.เวลาต้มไข่ใส่เกลือเล็กน้อยจะช่วยให้ปอกเปลือกล่อน
16.เวลาปั่นไอศกรีมใส่เกลือเม็ดในน้ำแข็งส่วนผสมที่ทำไอศกรีมไม่แข็งตัวเลย
17.ใช้เกลือสำหรับทำไข่เค็มและไข่เยี่ยวม้า
18.ต้มมะละใบขี้เหล็กลวกสะเดาใส่เกลือเล็กน้อยช่วยให้ความขมหายไป
19.มะม่วงกวน ฟักทองกวน กล้วยกวนใส่เกลือป่น 1 ช้อนชา ช่วยให้ขนมที่กวนมีรสหวานอร่อย และช่วยอยู่นานหลายวันไม่เสีย

20.นึ่งปลาโรยเกลือเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เนื้อปลายุ่ยไม่เหม็นคาว
21.ส่วนผสมของขนมปัง คุกกี้ ปลาท่องโก๋ใส่เกลือผสมเล็กน้อย
22.น้ำเกลือแช่ผักที่มียาง
23.ทดลองง่ายๆว่าไข่สุกหรือไม่นำไข่ลอยในน้ำ 2 ลิตร ผสมเกลือ 1 ช้อนชาถ้าไข่สดไข่จะจมลงข้างล่างไข่ไม่สุกจะลอยขึ้นมา
24.ต้มผักควรเหยาะเกลือเล็กน้อยถ้าผักที่มีสีเขียวควรเปิดฝาต้มต้มหน่อไม้ควรปิดฝา
25.เอามือเเตะเกลือป่นก่อนทำปลาสดทำให้จับปลาได้ถนัดมือ
26.ตีไข่ขาวให้ฟูอย่างรวดเร็วใส่เกลือ 1/2 ช้อนชา
27.คั่วพริกขี้หนูแห้งใส่เกลือป่น 1 ช้อนชาจะทำให้ไม่ให้มีกลิ่นฉุน
28.ใส่เกลือเล็กน้อยในแป้งสาลี ที่นวดทำขนมทำให้แป้งยืดหยุ่นนุ่มนวล

29.โรยเกลือป่นเหนือตัวปลาก่อนย่างทำให้เนื้อปลาแข็ง
30.ล้างปลาหมึกด้วยน้ำเกลือจะทำให้ปลาหมึกขาวสะอาดและมีรสดี
31.กาแฟที่มีรสขมจัดใส่เกลือเล็กน้อยจะไม่ขม
32.มีดทำครัวเป็นสนิมใช้เกลือถูเช็ดให้แห้งมีดจะหายเป็นสนิม
33.ต้องการให้เนื้อสดที่เก็บไว้ในช่องแช่แข็งละลายเร็วขึ้นใส่เกลือแช่ไว้สักครู่จะช่วยละลายน้ำแข็งออกอย่างรวดเร็ว
34.เกลือแกงใช้ในการทำความสะอาดกำจัดความสกปรกได้เป็นอย่างดี
35.โถส้วมถ้าเทน้ำไม่ลงใส่เกลือเม็ด 1 กำมือ เพื่อให้เทน้ำลง
36.ซักผ้าม่านไหมให้นุ่มแช่ลงในน้ำ 1 แกนลอนผสมเกลือป่นก่อนนำไปซักตามแบบธรรมดา

สูตรผิวสวยด้วยเกลือ 

 ฟื้นฟูรอยหมองคล้ำรอบดวงตา

ส่วนประกอบ 

-เกลือ 1 ช้อนชา
-น้ำร้อนครึ่งถ้วย
-ผ้าขนหนูผืนเล็กหรือสำลีแผ่น                      
วิธีทำ
1.นำเกลือ 1 ช้อนชามาผสมลงในน้ำร้อนครึ่งถ้วยที่เตรียมไว้
2.ใช้ผ้าหรือสำลีชุบน้ำเกลือมาปิดตาไว้สัก 5-10 นาที
3.ล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วเช็ดหน้าให้แห้ง
**ทำสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง มันจะค่อยๆจางลงเอง**

ลดความมันบนใบหน้า

ส่วนประกอบ
-เกลือ 1 ช้อนชา
-น้ำร้อนปริมาณ 3/4 ของขวดสเปรย์
-ผ้าขนหนูผืนเล็ก
-ขวดสเปรย์(ไม่ต้องใหญ่มาก)
วิธีทำ
1.ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนพอหมาดๆ นำมาปิดหน้าประมาณ 3-5 นาที เพื่อปิดรูขุมขน
2.ใส่น้ำร้อนลงไปในขวดสเปรย์ เติมเกลือลงไป 1 ช้อนชา เขย่าให้เกลือละลาย
3.ฉีดน้ำเกลือใส่หน้าให้ทั่ว จากนั้นใช้ผ้าขนหนูเช็ดหน้าให้แห้ง
**ทำเป็นประจำทุกเช้า**

เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว

ส่วนประกอบ
-เกลือ 1/2 ถ้วย
-น้ำอุ่นอุณหภูมิเหมาะสำหรับการลงไปแช่ตัว
-ครีมบำรุงผิวที่ใช้เป็นประจำ
วิธีทำ
1.ผสมเกลือ 1/2 ถ้วยลงไปในอ่างอาบน้ำจนเกลือละลาย
2.แช่ตัวประมาณ 15-20 นาที จากนั้นเช็ดตัวให้แห้ง
3.ทาครีมบำรุงผิวที่ใช้เป็นประจำ
**ระวังเข้าตาด้วย เพราะจะทำให้แสบ ควรแช่ตัวตั้งแต่ช่วงไหล่ลงไป**

ขัดผิวให้สวยใส

ส่วนประกอบ
-เกลือผงสำหรับขัดตัว
-น้ำอุ่นอุณหภูมิพอเหมาะ
-ครีมบำรุงผิวที่ใช้เป็นประจำล
-ฟองน้ำหรือผ้าขนหนู
วิธีทำ
1.ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำอุ่นที่เตรียมไว้ โดยไม่ต้องเช็ดให้แห้ง
2.ใช้เกลือสำหรับขัดตัว โดยใช้ฟองน้ำ หรือผ้าขนหนูที่เตรียมไว้ขัดให้ทั่วตัว จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด เช็ดผิวให้แห้ง
3.ทาครีมบำรุงผิวที่ใช้เป็นประจำ
**เกลือจะช่วยให้เซลล์ผิวที่ตายหลุดออกมา และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนชองเลือดด้วย**

ผ่อนคลายอาการเมื่อยที่เท้า

ส่วนประกอบ
-เกลือประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ
-น้ำอุ่นอุณหภูมิพอเหมาะ
-ถังน้ำสำหรับแช่เท้า
วิธีทำ
1.ผสมเกลือประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะลงในน้ำอุ่นจนเกลือละลาย
2.นั่งแช่เท้าประมาณ 30 นาที
3.ล้างออกด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
**เหมาะสำหรับคนที่เดินนานๆ หรือคนที่ใส่ส้นสูงตลอดวัน จะทำให้กล้ามเนื้อเท้าผ่อนคลายได้

เรื่องดี ๆ ต้องแบ่งปัน ^_^

สรรพคุณเกลือ


            คนทุกครัวเรือนหรือร้านอาหารจะต้องมีเกลือเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารทุกชนิด แต่หลายคนมักจะรู้จักสรรพคุณของเกลือ เฉพาะความเค็มเท่านั้น

จริงๆแล้วเกลือมีสรรพคุณหลายด้าน ดังนี้

๑. แก้ตะคริว ใช้เกลือละลายน้ำดื่มแก้ตะคริวได้ บางท่านก่อนจะลงว่ายน้ำถ้าได้ดื่มน้ำเกลือก่อนจะช่วยให้ไม่เป็นตะคริว

๒. แก้คลื่นไส้ เมาสุรา ใช้เกลือ ๑/๒ ช้อนกาแฟต่อน้ำ ๑ แก้ว ผสมกันแล้วดื่ม อาการคลื่นไส้จะหายไป

๓. แก้อาการร้อนใน กระหายน้ำ ใช้เกลือละลายน้ำสะอาด ๑ แก้ว ดื่มก่อนเข้านอนหรือตื่นนอนตอนเช้า แก้อาการร้อนในกระหายน้ำได้ผลดี

๔. รักษาโรคกระเพาะ ใช้เกลือ ๑ ช้อนชา ละลายน้ำ ๑ แก้ว ดื่มทุกเช้าหลังจากตื่นนอน ช่วยรักษาโรคกระเพาะได้

๕. แก้เป็นลม เอาเกลือทะเลละลายกับน้ำร้อน หรือน้ำเย็น ดื่มแก้อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน ตาลาย เพราะร่างกายอ่อนเพลียได้ผลดี

๖. แก้ถูกยาเบื่อ ใช้เกลือ ๑ ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำอุ่น ๑/๒ แก้ว กินครั้งเดียวกันอาเจียนออกมา

๗. แก้แผลปากเปื่อย ใส่เกลือบริเวณแผลแล้วอมไว้ ครั้งแรกจะรู้สึกแสบ ครั้งต่อไปแผลจะหาย

๘. แก้เผ็ด ถ้ากินอาหารรสเผ็ด รู้สึกแสบที่ปาก อมเกลือแล้วทิ้งไว้สักครู่ ก็จะหาย


นำมาจาก บทความ สนุก! พีเดีย หมวดความรู้

เกลือสมุนไพร


อากาศเริ่มร้อนเข้าสู่ภาวะปกติของคิมหันต์ฤดู คนส่วนใหญ่จึงนิยมมุ่งหน้าสู่ทะเลนั่งตากลมคลายร้อน และลงเล่นน้ำทะเล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทะเลสวยกว่าฤดูฝน เที่ยวทะเลแล้วนึกถึงเกลือ เพราะความเค็มของน้ำทะเล และเพราะนั่งรถผ่านชายทะเลยังเห็นนาเกลือ แม่ค้าขายเกลือข้างทางมากมาย

เกลือคู่กับความเค็ม ใครที่เคยอ่านหนังสือของสำนักพิมพ์มติชน เรื่อง "ประวัติศาสตร์โลกผ่านเกลือ" จะเข้าใจประโยชน์ของเกลือ และการค้าขายในอดีตจนถึงปัจจุบันอย่างดี ใครจะนึกว่าเคยมีภาษีเกลือและมีสงครามแย่งชิงเกลือ หากยังไม่ได้อ่านลองหาอ่านยามลาพักร้อนในเดือนร้อนๆ แบบนี้นะ

มาพูดถึงความเค็มของเกลือ คนทั่วไปมักใช้ประโยชน์ในการประกอบอาหาร และการถนอมอาหาร ขอแยกแยะเป็นความรู้เบื้องต้นของเกลือตามโครงสร้างทางเคมีสักนิด คือ เกลือประกอบด้วย โซเดียมและคลอไรด์ พูดตามภาษาเคมี เกลือธรรมดา (Normal Salt) ก็คือ โซเดียมคลอไรด์ (NaCl) นั่นเอง แต่ยังมีเกลือตามโครงสร้างเคมีอีกมากมาย เช่น เกลือกรด (Acid Salt) เกลือด่าง (Basic Salt) และเกลือผสม (Double Salts)

แต่คนทั่วไปก็ไม่รู้หรอกว่าเกลือ 3-4 ชนิดนั้นเอาไปใช้ทำอะไรที่ต่างกัน คนทั่วไปมักจะรู้จักเกลือที่นำไปกินกันในชีวิตประจำวัน พูดกันง่ายๆ รู้จักอยู่ 2 อย่าง เรียกตามภาษาชาวบ้านว่า "เกลือสมุทรหรือเกลือทะเลหรือเกลือแกง" และอีกอย่างคือ "เกลือสินเธาว์หรือเกลือบาดาล"



เกลือสมุทร ชื่อบอกอยู่แล้วว่าเป็นเกลือที่ได้มาจากน้ำทะเล มีส่วนประกอบของโซเดียมคลอไรด์ต่ำกว่าเกลือสินเธาว์ แต่มีสารที่สำคัญต่อสุขภาพคือไอโอดีน เกลือสมุทรเกิดจากการทำให้น้ำทะเลตกผลึกโดยใช้แสงอาทิตย์ในภาษาอังกฤษจึงเรียกเกลือชนิดนี้ว่า Solar Salt

ผลึกของเกลือมีรูปร่าง 2 แบบ ใครที่สนใจตำรับยาโบราณหรือแม่ครัวยุคเก่าก็รู้ดีว่ามีการเรียกเกลือได้ 2 แบบ คือ เกลือตัวผู้ เม็ดเกลือจะมีรูปร่างลักษณะเป็นเม็ดยาวแหลม ชาวนาเกลือจะใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นคือ นำไปผสมน้ำมะนาวจะแก้ไอได้ดี หรือใช้อุดฟันแก้ปวดก็ได้

ส่วน เกลือตัวเมีย เม็ดเกลือจะมีรูปร่างลักษณะแบนเป็นเหลี่ยม ประโยชน์ของเกลือตัวเมียสามารถใช้ได้สารพัดประโยชน์ ใช้บริโภค ใช้ดองผัก ดองปลา ทำน้ำปลา และใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ

สำหรับเกลือสินเธาว์ ชื่อก็บอกอีกเช่นกันว่าเป็นเกลือที่ได้มาจากดิน กระบวนการผลิตเกลือชนิดนี้มีหลากหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่เป็นการละลายเกลือที่อยู่ใต้ดินโดยใช้น้ำบาดาล แล้วนำน้ำเกลือมาต้มหรือทำให้เกลือตกผลึกโดยแสงแดด

เกลือสินเธาว์มีผลึกขนาดเล็กและมีส่วนประกอบของโซเดียมคลอไรด์สูงกว่าเกลือสมุทรแต่ไม่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ เรียกว่าได้อย่างเสียอย่าง

ดังที่ใครอ่านหนังสือ "ประวัติศาสตร์โลกผ่านเกลือ" ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่าเกลือเป็นมากกว่าของรสเค็มๆ เป็นมากกว่าเครื่องปรุงรสและถนอมอาหาร ในด้านสุขภาพเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าเกลือมีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ หากขาดเกลือทำให้เจ็บป่วยได้

แต่กินมากไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพเช่นกัน



ในตำรายาไทยได้มีการกล่าวถึงสรรพคุณของเกลือในอีกรูปลักษณ์หนึ่งที่คนรุ่นใหม่ยังไม่ได้รับทราบ ในเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่แบบโบราณของไทย จึงขอนำเรื่องเก่าที่ทรงคุณค่าและยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในยุคนี้มาเล่าสู่กันฟัง

จากตำราสรรพคุณยาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งท่านได้รับการยกย่องจากยูเนสโกเมื่อปี 2551 ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ซึ่งมีผลงานด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่สำคัญ คือ ตำราสรรพคุณยาสมุนไพร

เป็นตำราเกี่ยวกับคุณประโยชน์และโทษของสมุนไพรไทย จำนวน 166 ชนิด ที่ใช้ในการรักษาโรคในการแพทย์ไทยแผนโบราณเป็นตำราสมุนไพรเล่มแรกของไทยที่ เขียนแบบเอกสารทางวิชาการ แจกแจง และวิเคราะห์ส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด

และใครที่ชื่นชมความรู้จากวัดโพธิ์ ก็ขอให้ทราบว่า ท่านเป็นผู้จารึกคำประพันธ์ไว้บนแผ่นหิน ที่บรรยายการบำบัดโรคด้วยสมุนไพร และท่า "ฤๅษีดัดตน" ที่มีเรียงรายอยู่ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์นั่นเอง

ตำรับยาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิทได้กล่าวไว้ว่า เกลือที่ใช้เป็นยามี 5 ประเภท คือ เกลือสินเธาว์ เกลือพิก เกลือฝ่อ เกลือสมุทรี และ เกลือวิก แต่ละชนิดเกิดจากกระบวนการปรุงที่แตกต่างกัน

เริ่มต้นให้เอาเกลือสมุทรมาตำให้ละเอียด เอาน้ำใส่พอสมควร (ท่านไม่ได้บอกปริมาณแน่ชัดน่าจะเนื่องมาจากเกลือที่นำมาใช้มีปริมาณน้ำในเกลือแต่ละแหล่งและช่วงเวลาไม่เท่ากัน จึงให้ผู้ประกอบยาได้พิจารณาจากประสบการณ์ว่าควรใส่น้ำเท่าใด ซึ่งข้อนี้ได้แสดงให้เห็นว่าหมอแต่อดีตมีความชำนาญในการปรุงยา)

แล้วนำไปต้มด้วยหม้อใหม่ (หมายถึงหม้อดิน) ให้แห้ง แล้วสุมไฟจนหม้อแดง แล้วนำเกลือนั้นมาแบ่งเป็น 5 ส่วน แต่ละส่วนนำมาปรุงเป็นเกลือแต่ละประเภท ดังนี้

การปรุงเกลือสินเธาว์ ให้เอาเกลือที่เตรียมไว้แล้วมาผสมน้ำนมวัว เคี่ยวไปจนแห้งประมาณ 3 วัน เกลือสินเธาว์ใช้แก้โรค 3 อาการคือ

1. พรรดึก (อ่านว่า พันระดึก) หมายถึงอาการท้องผูกมาก มีอุจจาระเป็นก้อนแข็งคล้ายขี้แพะ

2. แก้ระส่ำระสาย ในที่นี้น่าจะหมายถึงอาการที่เกิดจากการหมุนเวียนของโลหิตไม่ปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติของลมในร่างกายทำให้เกิดอาการระส่ำระสาย

3. แก้ตรีโทษ คือ เสมหะ ขับลม และบำรุงน้ำดี

ความรู้ของท่าน ได้ปรากฏในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตำราหลักของแพทย์แผนไทย ได้กล่าวไว้ว่าให้เอาน้ำนมโคเท่ากับเกลือ 1 ส่วน ลงกวนสามวันให้แห้ง จึงได้ชื่อว่าเกลือสินเธาว์ มีรสเค็มมัน สรรพคุณ แก้พรรดึก แก้ระส่ำระสาย แก้ไข้ตรีโทษ (เป็นโทษที่เกิดจาก ปิตตะ วาตะและเสมหะร่วมกัน) และแก้นิ่ว
ที่มา : โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง มูลนิธิสุขภาพไทย www.thaihof.org

การผลิตเกลือไอโอดีน




              เกลือที่นำมาใช้ผลิตเกลือเสริมไอโอดีน สามารถนำมาใช้ได้ทั้งเกลือสมุทรชนิดเม็ดหรือชนิดป่นและเกลือสินเธาว์  การผลิตเกลือเสริมไอโอดีน  สามารถทำได้หลายรูปแบบตั้งแต่วิธีการที่ง่ายที่สุด จนถึงการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งมีวิธีการผลิต  5  แบบ  คือ

  • วิธีการผสมแห้ง  Dry  mixing  process
 เป็นการพ่นโปแตสเซียมไอโอเดท ลงในเกลือผ่าน
ระบบสายพานเพื่อไม่ให้เครื่องจับตัวแข็ง  จึงใช้โปแตสเซียมไอโอเดท  1 ส่วน  ผสมกับแคลเซียมคาร์บอเนท หรือไตรแคลเซียมฟอสเฟท  หรือแมกนิเซียมคาร์บอเนท 9 ส่วน (1:9) นำส่วนผสมนี้ 1 ส่วน ไปพ่นลงในเกลือ 10 ส่วน ผ่านระบบสายพาน วิธีนี้เหมาะสำหรับการผสมเกลือป่น ใช้กันแพร่หลายในประเทศ
  • วิธีการหยดน้ำยา Drip feed  addition  
วิธีนี้มักจะใช้ในการเสริมไอโอดีนในเกลือเม็ดโดย
ให้สารละลายโปแตสเซียมไอโอเดทหยดจากขวดในอัตราที่ต้องการอย่างสม่ำเสมอลงสู่สายพานที่ลำ เลียงมาตลอดเวลา วิธีนี้ใช้กันแพร่หลายในบางประเทศในทวีปเอเซีย
  • วิธีการพ่นน้ำยา Spray  mixing
 เป็นวิธีการพ่นสารละลายโปแตสเซียมไอโอเดท หรือโปแตส-
 เซียมไอโอไดด์ภายใต้ความดันที่สม่ำเสมอลงสู่สายพาน  บางประเทศในทวีปเอเชีย และอเมริกาใต้ นิยมใช้
  • วีธี Submersion process  
เป็นวิธีการที่เสริมสารละลายไอโอดีนในขบวนการผลิตเกลือที่เป็น
สารละลายอยู่แล้วปล่อยให้ตกผลึก วิธีการนี้ต้องใช้เวลามาก
  • วิธี Blender  process 
เป็นวิธีการที่เสริมสารละลายไอโอดีน โดยวิธีการหยดหรือพ่น
เกลือในเครื่องผสมเหมาะสำหรับผสมเกลือในขนาด 0.5-3 ตัน/ชั่วโมง 


เกี่ยวกับคำว่า เกลือ


ความหมายของคำว่า "เกลือ" สำหรับนักเคมี หมายถึง ส่วนผสมทางเคมีที่เกิดจากโซเดียมและคลอไรด์(NaCI) ส่วน "เกลือ" สำหรับคนทั่วๆ ไป หมายถึง เกล็ดผลึกสีขาวใช้สำหรับปรุงแต่งรสชาติอาหาร หรือใช้ในการถนอมอาหาร นั่นเป็น เพราะคนทั่วไปรู้จักเกลือในการบริโภคแต่เกลือมีมากกว่านั้นทั้ง เกลือสมุทรและสินเธาว์ สำคัญต่อชีวิตของมนุษย์โลกอนาคตอย่างไร

เกลือสินเธาว์แบบต้ม

จังหวัดที่มีการผลิตเกลือสมุทร ได้แก่ สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และชลบุรี ผู้ผลิตเกลือสมุทร เรียกว่า ชาวนาเกลือ การผลิตจะอยู่ในช่วงฤดูทำนาเกลือ คือ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนพฤษภาคม ชาวนาเกลือจะปล่อยให้เกลือแกงตกผลึกอยู่ในนาประมาณ 9 - 10 วัน จึงขูดเกลือออก เกลือแกงที่ไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุให้มีคุณภาพต่ำ ชื้นง่าย

ในปลายปี พ.ศ.2513 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางโกดังเก็บเกลือทะเลในกรุงเทพฯถูกน้ำกวาดเสียหายไปหมด ทำให้ ปี พ.ศ.2514 เกิดวิกฤติการณ์เกลือทะเลแพงจากตันละ 100 บาทพุ่งขึ้นตันละ 900-1,000 บาท จุดนี้ได้พลิกโฉมหน้าการผลิตเกลือในประเทศไทยทันที เมื่อผู้ผลิตย้ายฐานการผลิตเกลือสู่ดินแดนอีสาน

หลังฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณเดือนธันวาคมหรือมกราคมของทุกปี เริ่มต้นฤดูแล้ง เรามักพบเห็น ดินปนทรายมีคราบขาวบนผิวดิน “ขี้ทา” หรือ “เกล็ดเกลือ” ฝุ่นผงสีขาว ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ บริเวณหน้าดินที่เป็น ดินเค็มของภาคอีสาน

คนสมัยโบราณ ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนำเอาขี้ทาหรือการขูดดินเอียดไปต้มจนกลายเป็นเกลือแกงอย่างที่บ้านอุ่มจาน กิ่งอ.ประจักษ์ศิลาคม ต.อุ่มจาม จ.อุดรธานี พบการต้มเกลือแบบพื้นบ้านโดยกรองด้วยกระบะดิน การต้มดังกล่าว พบใกล้ หนองหาน-กุมภวาปี ซึ่งชาวบ้านจะเดินเอา ปลามาแลกเกลือ เพื่อหมักปลาแดก

อีกจุดหนึ่ง ที่น่าสนใจคือบ้านพังซ่อน ต.พังงู อ.หนองหาน จ.อุดรธานี พบการขูดดินเอียดแล้วกรองในกระบะไม้พยูง ชั้นกรองทำด้วยแกลบเช่นเดียวกับที่บ้านอุ่มจาม กระบะเจาะท่อส่งน้ำเกลือด้วยไม้ไผ่ มีพิธีกรรมบูชาเจ้าพ่อเจ้าแม่ด้วยไม้แกะรูปปลัดขิก อาจกล่าวได้ว่า เป็นอารยธรรมแรกเริ่ม ทั้งข้าว ปลา เกลือจึงเป็นสิ่งสูงค่าต่อการดำรงชีวิตของชาวอีสาน แต่ปัจจุบัน การต้มเกลือพื้นบ้านกำลังหดหายไป


“ทำไมอีสานมีนาเกลือ และทำไมต้องเป็นเกลือจากดินแดนนี้ด้วย” หลังจากการสำรวจน้ำบาดาล โดย กรมทรัพยากรธรณีในปี 2512-2513 ความลับของอีสานเกี่ยวกับทรัพย์ในดินก็ถูกเปิดสู่โลกภายนอกมากขึ้น การค้นพบน้ำเค็มในเขตต้นน้ำเสียว อ.บรบือ จ.มหาสารคาม คือ จุดริเริ่มของการทำอุตสาหกรรมเกลือ ตลอดระยะเวลา 10 ปี นับจากปี 2514 เกลือสินเธาว์ที่ อ.บรบือ ทำให้สภาพแวดล้อมต้นน้ำเสียวจนถึงปลายน้ำถูกทำลายลง จนเป็นผลให้รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีคำสั่งปิดกิจการผลิตเกลือสินเธาว์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2523 ในเขตลุ่มน้ำเสียวทั้งหมด

การห้ามกลับทำให้นายทุนย้ายฐานไปผลิตในพื้นที่ใหม่ ธุรกิจการผลิตเกลือได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเกลือขนาดใหญ่ ใช้กรรมวิธีผลิตแบบ " เกลือตาก " หรือเกลือบาดาล โดยการอัดน้ำลงในพื้นดินที่มีแร่เกลือหิน เพื่อละลายเกลือหิน จากนั้นก็สูบขึ้นมาตากบนลานดินหรือลานซีเมนต์

การทำอุตสาหกรรมเกลือ มีอยู่หนาแน่นในบริเวณจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ก่อนที่จะขยายฐานการผลิตไปยัง จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ หนองคาย สกลนครและ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่ตั้งของแหล่งหินเกลือและผลิตเกลือสินเธาว์ใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


เกลือสินเธาว์แบบตาก
เกลือเม็ดใหญ่ 


ใต้บ้านดุง มีการสำรวจพบภูเขาเกลือที่เกิดจากแผ่นดินสองแผ่นชนยกตัวทับซ้อนกันเพราะแผ่นดินอีสาน คือ ทะเลปิดมาก่อน ทำให้เกิดการทับถมของชั้นเกลือที่มีความเข้มข้นสูง ทางผู้ผลิตการันตีได้ว่า เกลือสินเธาว์มีความบริสุทธ์มากกว่าเกลือทะเล 95-99 % จึงเป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันนี้ เกลือเป็นสินค้าแปรรูปที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ เกลือที่ถูกนำมาบรรจุเพื่อจำหน่ายส่วนใหญ่จะผสมแมกนีเซียมไบคาร์บอเนต และซิลิเกต ตามสัดส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกลือจับตัวเป็นก้อนเมื่อโดนความชื้น

เกลือที่ใช้บริโภคในปัจจุบันมาจาก บ้านดุง ถือเป็นแหล่งต้นเกลือที่ส่งขายทั่วประเทศและสินค้าถูกนำไปตีตราในแต่ละจังหวัด สังเกตุได้จากคำว่า “เสริมไอโอดีน” นั่นคือ กระบวนการเติมสารในขณะที่ต้ม อาหารสำเร็จรูปนานาชนิดจึงมีเกลือเป็นส่วนผสม เช่น อาหารกระป๋อง, บะหมี่สำเร็จรูป, ผักดอง, ซอสปรุงรส, เครื่องแกงสำเร็จรูป, เนยแข็ง, ซีเรียล, ขนมปัง, ขนมเค้ก, ซุปสำเร็จรูป, ไส้กรอก, ลูกชิ้น กระทั่ง น้ำมะเขือเทศ หรือไอศครีม ฯลฯ ในขณะที่เกลือตากและเกลือต้มถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทั้งหมด