ขายเกลือเสริมไอโอดีนถุงเล็ก

ขายเกลือไอโอดีน

  ขายเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ถุงเล็ก ขายส่งเหมาะสำหรับ ร้านค้าปลีก-ร้านค้าส่ง เพื่อจำหน่ายหรือ โรงพยาบาล สาธารณสุข รพ.สต.​ โรงพยาบาลส่งเสริม...

เกี่ยวกับคำว่า เกลือ


ความหมายของคำว่า "เกลือ" สำหรับนักเคมี หมายถึง ส่วนผสมทางเคมีที่เกิดจากโซเดียมและคลอไรด์(NaCI) ส่วน "เกลือ" สำหรับคนทั่วๆ ไป หมายถึง เกล็ดผลึกสีขาวใช้สำหรับปรุงแต่งรสชาติอาหาร หรือใช้ในการถนอมอาหาร นั่นเป็น เพราะคนทั่วไปรู้จักเกลือในการบริโภคแต่เกลือมีมากกว่านั้นทั้ง เกลือสมุทรและสินเธาว์ สำคัญต่อชีวิตของมนุษย์โลกอนาคตอย่างไร

เกลือสินเธาว์แบบต้ม

จังหวัดที่มีการผลิตเกลือสมุทร ได้แก่ สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร และชลบุรี ผู้ผลิตเกลือสมุทร เรียกว่า ชาวนาเกลือ การผลิตจะอยู่ในช่วงฤดูทำนาเกลือ คือ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนพฤษภาคม ชาวนาเกลือจะปล่อยให้เกลือแกงตกผลึกอยู่ในนาประมาณ 9 - 10 วัน จึงขูดเกลือออก เกลือแกงที่ไม่บริสุทธิ์เป็นเหตุให้มีคุณภาพต่ำ ชื้นง่าย

ในปลายปี พ.ศ.2513 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางโกดังเก็บเกลือทะเลในกรุงเทพฯถูกน้ำกวาดเสียหายไปหมด ทำให้ ปี พ.ศ.2514 เกิดวิกฤติการณ์เกลือทะเลแพงจากตันละ 100 บาทพุ่งขึ้นตันละ 900-1,000 บาท จุดนี้ได้พลิกโฉมหน้าการผลิตเกลือในประเทศไทยทันที เมื่อผู้ผลิตย้ายฐานการผลิตเกลือสู่ดินแดนอีสาน

หลังฤดูเก็บเกี่ยว ประมาณเดือนธันวาคมหรือมกราคมของทุกปี เริ่มต้นฤดูแล้ง เรามักพบเห็น ดินปนทรายมีคราบขาวบนผิวดิน “ขี้ทา” หรือ “เกล็ดเกลือ” ฝุ่นผงสีขาว ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ บริเวณหน้าดินที่เป็น ดินเค็มของภาคอีสาน

คนสมัยโบราณ ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนำเอาขี้ทาหรือการขูดดินเอียดไปต้มจนกลายเป็นเกลือแกงอย่างที่บ้านอุ่มจาน กิ่งอ.ประจักษ์ศิลาคม ต.อุ่มจาม จ.อุดรธานี พบการต้มเกลือแบบพื้นบ้านโดยกรองด้วยกระบะดิน การต้มดังกล่าว พบใกล้ หนองหาน-กุมภวาปี ซึ่งชาวบ้านจะเดินเอา ปลามาแลกเกลือ เพื่อหมักปลาแดก

อีกจุดหนึ่ง ที่น่าสนใจคือบ้านพังซ่อน ต.พังงู อ.หนองหาน จ.อุดรธานี พบการขูดดินเอียดแล้วกรองในกระบะไม้พยูง ชั้นกรองทำด้วยแกลบเช่นเดียวกับที่บ้านอุ่มจาม กระบะเจาะท่อส่งน้ำเกลือด้วยไม้ไผ่ มีพิธีกรรมบูชาเจ้าพ่อเจ้าแม่ด้วยไม้แกะรูปปลัดขิก อาจกล่าวได้ว่า เป็นอารยธรรมแรกเริ่ม ทั้งข้าว ปลา เกลือจึงเป็นสิ่งสูงค่าต่อการดำรงชีวิตของชาวอีสาน แต่ปัจจุบัน การต้มเกลือพื้นบ้านกำลังหดหายไป


“ทำไมอีสานมีนาเกลือ และทำไมต้องเป็นเกลือจากดินแดนนี้ด้วย” หลังจากการสำรวจน้ำบาดาล โดย กรมทรัพยากรธรณีในปี 2512-2513 ความลับของอีสานเกี่ยวกับทรัพย์ในดินก็ถูกเปิดสู่โลกภายนอกมากขึ้น การค้นพบน้ำเค็มในเขตต้นน้ำเสียว อ.บรบือ จ.มหาสารคาม คือ จุดริเริ่มของการทำอุตสาหกรรมเกลือ ตลอดระยะเวลา 10 ปี นับจากปี 2514 เกลือสินเธาว์ที่ อ.บรบือ ทำให้สภาพแวดล้อมต้นน้ำเสียวจนถึงปลายน้ำถูกทำลายลง จนเป็นผลให้รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ มีคำสั่งปิดกิจการผลิตเกลือสินเธาว์ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2523 ในเขตลุ่มน้ำเสียวทั้งหมด

การห้ามกลับทำให้นายทุนย้ายฐานไปผลิตในพื้นที่ใหม่ ธุรกิจการผลิตเกลือได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมเกลือขนาดใหญ่ ใช้กรรมวิธีผลิตแบบ " เกลือตาก " หรือเกลือบาดาล โดยการอัดน้ำลงในพื้นดินที่มีแร่เกลือหิน เพื่อละลายเกลือหิน จากนั้นก็สูบขึ้นมาตากบนลานดินหรือลานซีเมนต์

การทำอุตสาหกรรมเกลือ มีอยู่หนาแน่นในบริเวณจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ก่อนที่จะขยายฐานการผลิตไปยัง จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ หนองคาย สกลนครและ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่ตั้งของแหล่งหินเกลือและผลิตเกลือสินเธาว์ใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


เกลือสินเธาว์แบบตาก
เกลือเม็ดใหญ่ 


ใต้บ้านดุง มีการสำรวจพบภูเขาเกลือที่เกิดจากแผ่นดินสองแผ่นชนยกตัวทับซ้อนกันเพราะแผ่นดินอีสาน คือ ทะเลปิดมาก่อน ทำให้เกิดการทับถมของชั้นเกลือที่มีความเข้มข้นสูง ทางผู้ผลิตการันตีได้ว่า เกลือสินเธาว์มีความบริสุทธ์มากกว่าเกลือทะเล 95-99 % จึงเป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันนี้ เกลือเป็นสินค้าแปรรูปที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญ เกลือที่ถูกนำมาบรรจุเพื่อจำหน่ายส่วนใหญ่จะผสมแมกนีเซียมไบคาร์บอเนต และซิลิเกต ตามสัดส่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกลือจับตัวเป็นก้อนเมื่อโดนความชื้น

เกลือที่ใช้บริโภคในปัจจุบันมาจาก บ้านดุง ถือเป็นแหล่งต้นเกลือที่ส่งขายทั่วประเทศและสินค้าถูกนำไปตีตราในแต่ละจังหวัด สังเกตุได้จากคำว่า “เสริมไอโอดีน” นั่นคือ กระบวนการเติมสารในขณะที่ต้ม อาหารสำเร็จรูปนานาชนิดจึงมีเกลือเป็นส่วนผสม เช่น อาหารกระป๋อง, บะหมี่สำเร็จรูป, ผักดอง, ซอสปรุงรส, เครื่องแกงสำเร็จรูป, เนยแข็ง, ซีเรียล, ขนมปัง, ขนมเค้ก, ซุปสำเร็จรูป, ไส้กรอก, ลูกชิ้น กระทั่ง น้ำมะเขือเทศ หรือไอศครีม ฯลฯ ในขณะที่เกลือตากและเกลือต้มถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทั้งหมด








ไม่มีความคิดเห็น: