ขายเกลือเสริมไอโอดีนถุงเล็ก

เกลือไอโอดีน

  ขายเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ถุงเล็ก ขายส่งเหมาะสำหรับ ร้านค้าปลีก-ร้านค้าส่ง เพื่อจำหน่ายหรือ โรงพยาบาล สาธารณสุข รพ.สต.​ โรงพยาบาลส่งเสริม...

เกลือสินเธาว์หรือเกลือหิน

 ภาพ "การผลิตเกลือ"  เมื่อครั้งอดีต..ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐

"เกลือสินเธาว์' (*หรือ  "เกลือหิน")


"ภาคอีสาน" มีชุมชนที่ผลิตเกลือในระดับอุตสาหกรรมโบราณ

มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์..

ดังหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในบริเวณ.. 

  #"บ่อพันขัน" เขตทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ด..

  #"ลุ่มน้ำสงคราม" แอ่งสกลนคร..


หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ในหน้าแล้งช่วงเดือนกุมภาพันธ์..

ตามท้องนาจะมี "ดินเอียด" หรือ

ที่ชาวอีสานเรียกว่า "ขี้ทา"

(*"ดินเค็ม" ที่มีละอองหรือส่าเกลือ)

ขึ้นมาบนผิวดินให้เห็นเป็นสีขาวหรือสีเทา ชาวบ้านลงมือ "ขูดดินเอียด" เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการ "ต้มเกลือ"


ก่อนต้มเกลือชาวบ้านจะทำพิธี "บอกกล่าวเจ้าที่" เพื่อเป็นศิริมงคล ขอให้การต้มเกลือไม่มีอุปสรรค และให้ได้ผลผลิตมากตามต้องการ จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการต้มเกลือ..


โดยนำ "ดินเอียดผสมแกลบข้าว"

(*หรือเศษฟาง)

ใส่ใน "รางเกรอะน้ำเกลือ"

มีลักษณะคล้าย "เรือ" ความยาวประมาณ ๒ - ๔ เมตร.. 


หรือบางท้องที่ อาจใช้อ่างปูนซีเมนต์แทน เมื่อเทน้ำสะอาดใส่ในรางเกรอะเกลือ..

"น้ำเอียด" ที่ผ่านการกรองแบบธรรมชาติจะไหลออกจากรู ลงในภาชนะที่รองไว้ด้านล่างของรางเกรอะ..

เพื่อให้ได้น้ำเอียดที่เพียงพอต่อการต้มแต่ละครั้ง..


โดยชาวบ้านจะใช้ภูมิปัญญาการ "วัดความเค็ม" จากน้ำที่รองได้ ๒ วิธี คือ..

  ๑. นำ "ไข่เป็ด" ที่ยังไม่สุกมาลอยในน้ำเอียด..

  #ถ้าไข่เป็ด "ไม่จมน้ำ" แสดงว่าความเค็มมากสามารถนำมาต้มเป็นเกลือได้..

  #ถ้าไข่เป็ด "จมน้ำ" แสดงว่าความเค็มยังไม่เพียงพอที่จะนำมาต้มเป็นเกลือ..


 ๒. ใช้ "ครั่งหรือขี้ครั่ง" ขนาดก้อนเท่าหัวแม่มือ นำมาลอยในน้ำเอียด..

  #ถ้า "ก้อนครั่งลอย" แสดงว่ามีความเค็มมาก..

(*เช่นเดียวกับการวัดด้วยไข่เป็ด)


เมื่อได้ "น้ำเอียด" ที่สามารถต้มเป็นเกลือได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ..

นำน้ำเอียดมา "เคี่ยวหุง" โดยใช้ "กะทะที่ทำจากแผ่นสังกะสี" สุมไฟไปตลอด จนน้ำระเหยกลายเป็น "ผลึกเกลือสีขาวขุ่น"


จากนั้น "ตักเกลือ" ใส่ตระกร้าไม้ไผ่ ผึ่งเกลือไว้ให้แห้ง..

เสร็จแล้วก็นำเกลือมาบรรจุ "กะทอ"

(*ที่ทำด้วยไม้ไผ่สานอย่างชะลอม) เป็นรูปทรงกระบอก..


"ขนาด" ของกะทอขึ้นอยู่กับผู้ใช้..

ส่วนใหญ่ขนาดพอบรรจุเกลือ ที่มีน้ำหนัก ๑ หมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ก่อนบรรจุเกลือ ใช้ "ใบไม้" รองด้านใน..


"เกลือกะทอ" ของชาวอีสานในอดีต

เป็นทั้งสินค้าซื้อขาย และแลกเปลี่ยนของพ่อค้าทางไกล..

ชาวอีสานเรียกว่า "นายฮ้อยเกลือ"


"เกลือกะทอ" สามารถเก็บไว้บริโภคได้นานแรมปี..

"เกลือกะทอ"หนัก ๑๒ กิโลกรัม ราคาประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ บาท (*พุทธศักราช ๒๕๕๙)


"ระยะเวลา" การผลิตเกลือสินเธาว์

อยู่ระหว่างเดือน "กุมภาพันธ์" ไปจนถึงปลายเดือน "เมษายน" ของทุกปี..


ปัจจุบัน ในภาคอีสานมีการผลิตเกลืออยู่ ๓ รูปแบบ คือ..

  ๑. การผลิตเกลือ "แบบดั้งเดิม"

(*ดังที่กล่าวมาข้างต้น) นิยมผลิตทั่วไปในบริเวณจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี กาฬสินธุ์..


  ๒. การผลิตเกลือโดยวิธี "สูบน้ำเกลือจากใต้ดิน" ขึ้นมาเคี่ยวหุง..

ชุมชนที่ผลิตเกลือลักษณะนี้คือ..

"บ่อเกลือหัวแฮด" บ้านท่าสะอาด ตำบลท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ..


  ๓. การผลิตเกลือด้วยวิธี "สูบน้ำเค็มจากใต้ดิน" ขึ้นมาตากแดด ที่เรียกว่า "นาเกลือ"

อยู่ที่ "อำเภอบ้านดุง" จังหวัดอุดรธานี..

และ "อุตสาหกรรมเกลือบริสุทธิ์" อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา..


*****

**กราบขอบพระคุณรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมดจาก..

(*คุณ "จักรมนตรี เซียงบี ชนะพันธ์")

มา ณ ที่นี้เป็นอย่างสูงด้วยนะคะ..🙏🌺


............................................

#Photograph : Dr. Robert Larimore Pendelton

#Image Source : Univetsity of Wisconsin-Milwaukee Libraries




ไม่มีความคิดเห็น: