ตลอด 26 ปีที่ผ่านมา ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในอีสานมากกว่าบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ได้มีโอกาสเดินทางไปทั่วอีสาน โดยเฉพาะการเดินทางเพื่อสำรวจเรื่องเกลือทั้งในมิติอารยธรรมโบราณคดี วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ไม่เคยเห็นผืนดินอีสานที่ไหนพังเท่าผืนดินที่ตำบลหนองไทร อ.ด่านขุนทด จ.โคราช.
และเมื่อนึกภาพอีกสิบปีข้างหน้าถ้าหากเหมืองโปแตชที่นี่ยังดำเนินการต่อไป มันจะพังไปอีกถึงขั้นไหน
.
อาจจะยังไม่ถึงขั้นวิกฤติเท่าลำน้ำเสียวอันเป็นปฐมบทเริ่มต้นของการนำเกลืออีสานไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมแทนเกลือทะเล เมื่อการสำรวจน้ำบาดาลเพื่อนำมาใช้อุปโภคและบริโภคในภาคอีสานในยุคสงครามเย็นตามยุทธศาสตร์การทหารของอเมริกาที่ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ไทยมากมายในทุกด้าน โดยเฉพาะสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั้งหลาย ทั้งถนนหนทาง น้ำ ไฟ เขื่อน ฯลฯ เพื่อหวังจะพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวอีสานตามอุดมการณ์/แนวทางลัทธิเสรีประชาธิปไตยให้หันเหหนีห่างออกจากลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังล้มตามทฤษฎีโดมิโนไล่ตามกันมาเรื่อย ๆ จากรัสเซีย จีน เข้ามาในประเทศภูมิภาคอินโดจีนอย่างเวียตนาม ลาว กัมพูชา พบน้ำบาดาลจำนวนหลายแห่งมีความเค็มเข้มข้นสูง เช่นที่หนองบ่อ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม จนทำให้เกิดการสูบน้ำเกลือขึ้นมาต้มและตากในนาข้าวอย่างอึกทึกครึกโครม เกิดเป็นวิกฤติและหายนะจากความเค็มอย่างรุนแรงตลอดลำน้ำเสียวกว่า 200 กิโลเมตร ก่อนไหลลงลำน้ำมูลที่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
.
แต่ที่ลำน้ำเสียวไม่เคยเห็นภาพวิกฤติและหายนะรุนแรงด้วยสายตาตัวเอง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนช่วงเวลาที่จะเดินทางมาใช้ชีวิตอยู่ในอีสาน ได้แต่ไปเห็นลำน้ำเสียวหลังจากนั้นแล้วหลายปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาฟื้นฟูลำน้ำเสียวและผืนดินสองฝั่งลำน้ำเสียวจากความเค็มของหน่วยงานราชการและองค์กรความร่วมมือจากต่างประเทศ แต่ก็ยังเห็นร่องรอยของความเค็มที่ทิ้งไว้ในลำน้ำและผืนดินสองฝั่งลำน้ำในระดับที่ยังมีความเข้มข้นของเกลือสูงอยู่หลายจุด/พื้นที่
.
ส่วนการทำอุตสาหกรรมเกลือต้มและตากในนาข้าวด้วยการสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาในแถบ อ.โนนสูง โนนไทย ขามทะเลสอ พระทองคำ จ.โคราช อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่ทดแทนจากการที่รัฐบาลประกาศให้หยุดสูบน้ำเกลือขึ้นมาต้มและตากในนาข้าวในเขต อ.บรบือ อีกต่อไปนั้น ก็มีสภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมที่ดูแห้งแล้ง ไม่เจริญหูเจริญตา อุจาดตาต่อผู้พบเห็นทั้งผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่นและผู้ที่สัญจรไปมาตลอดทั้งปีก็เป็นภาพที่ไม่พังเท่าตำบลหนองไทร อ.ด่านขุนทด
.
ไม่รู้จะบรรยายภาพยังไงให้ได้เห็นอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงความพัง ครั้นจะถ่ายรูปก็ไม่เคยถ่ายรูปได้ดีให้เห็นถึงมุมมอง/องค์ประกอบครบถ้วนของภาพที่อยากจะสื่อแม้สักครั้งเดียว ที่นี่ความเค็มของเกลือที่รั่วไหลออกสู่ไร่นาชาวบ้านจากการทำเหมืองโปแตชของบริษัท ไทยคาลิ จำกัด บริษัทของนายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย อดีตนักการเมืองใหญ่ ที่อุตส่าห์ส่งลูกชายไปเรียนวิศวกรเหมืองแร่ที่เยอรมัน (เพื่อหวังให้กลับมาทำเหมืองโปแตชที่ไทย) เจ้าเทคโนโลยีทำเหมืองแร่โปแตชอันดับต้น ๆ ของโลก แต่กลับมาทำเหมืองโปแตชที่ด่านขุนทดได้ห่วยแตก มักง่าย ไร้ความรับผิดชอบที่สุดในโลก เป็นดังนี้
.
(1) ณ จุดที่น้ำรั่วซึมในบริเวณวัดหนองไทร ติดกับขอบบ่อพักน้ำของเหมืองมีค่าความเค็มอยู่ที่ 46.4 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 67,200 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 43,600 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
(2) น้ำในบ่อของวัดหนองไทร มีค่าความเค็มอยู่ที่ 29.3 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 44,800 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 29,100 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
(3) บริเวณน้ำหลากในที่นาประชาชน ก่อนไหลลงห้วยลำหลอด ที่อยู่ห่างจากเหมืองประมาณ 1.5 กิโลเมตร (วัดจากขอบบ่อพักน้ำของเหมืองที่ติดกับวัดหนองไทร) ใกล้ ๆ กับบ้านดอนแต้ว ต.หนองไทร มีค่าความเค็มอยู่ที่ 1.8 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 3,470 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 2,250 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
(4) น้ำในห้วยลำหลอด หรือห้วยลำมะหลอด บริเวณท้ายน้ำที่อยู่ห่างจากเหมืองประมาณ 1.5 กิโลเมตร (วัดจากขอบบ่อพักน้ำของเหมืองที่ติดกับวัดหนองไทร) ใกล้ ๆ กับบ้านดอนแต้ว ต.หนองไทร มีค่าความเค็มอยู่ที่ 1.4 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 2,660 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 1,733 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
ซึ่งเป็นค่าของน้ำที่มีคุณภาพ 'ต่ำมาก มีเกลือมาก' ตามหลักวิชาการที่เปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการชลประทานตามระบบของอเมริกา (USSL, 1954) (ยกเว้นข้อ (4) ที่มีค่าความเค็มอยู่ที่ 1.4 กรัมต่อลิตร เป็นค่าของน้ำที่มีคุณภาพ 'ต่ำ มีเกลือมาก' ส่วนค่าความนำไฟฟ้า 2,660 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ก็อยู่ในเกณฑ์ของน้ำที่มีคุณภาพ 'ต่ำมาก มีเกลือมาก' เช่นเดียวกับข้อ (1) - (3)) ซึ่งเป็นคุณภาพน้ำที่อันตรายต่อพืช สัตว์และมนุษย์ นำมาใช้ประโยชน์ใด ๆ ไม่ได้เลย
.
นี่คือผลตรวจสอบล่าสุดจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 (นครราชสีมา) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมานี่เอง
.
แต่ถ้าย้อนหลังกลับไปในปี 2562 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 ก็เคยตรวจสอบมาแล้วครั้งหนึ่งในช่วงทำเหมืองใหม่ ๆ โดยบริษัทฯได้ทำการขุดเจาะอุโมงค์ก่อนได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมืองเพื่อนำเกลือใต้ดินขึ้นมาขาย* (ยังขุดเจาะไปไม่ถึงชั้นโปแตช) หลังจากได้ประทานบัตรเมื่อกรกฎาคม 2558 ซึ่งผลตรวจบริเวณบ่อเก็บน้ำทางทิศใต้ติดกับบริเวณเหมือง อยู่ในพื้นที่บ้านหนองไทร หมู่ 4 พบว่ามีค่าความเค็ม 78 กรัมต่อลิตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 78,672 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
(*ข้อสังเกต, ทั้ง ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมืองจากอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมาเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เพราะก่อนหน้านั้นองค์ประกอบบนดินของการดำเนินกิจการทำเหมืองโปแตชใต้ดิน เช่น บ่อกักเก็บแร่ บ่อน้ำเกลือ ลานกองเกลือ โรงแต่งแร่ ฯลฯ ยังไม่แล้วเสร็จ ถึงแม้จะได้ประทานบัตรแล้วตั้งแต่กรกฎาคม 2558 ก็ยังดำเนินกิจการทำเหมืองไม่ได้ แต่กลับลักลอบขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินเพื่อนำเกลือใต้ดินขึ้นมาขายก่อน)
.
ที่บริเวณตาน้ำผุดทางทิศตะวันตกของเหมือง โดยมีระยะห่างประมาณ 200 เมตร อยู่ในพื้นที่บ้านหนองไทร หมู่ 4 มีค่าความเค็ม 7.5 กรัมต่อลิตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 8,688 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
เรียกได้ว่าคุณภาพน้ำที่นั่นเลวร้ายขั้นสุดมาตั้งแต่ปี 2562 แล้ว
.
นี่ขนาดหยุดขุดเจาะมาตั้งแต่ปี 2563 เพราะเจาะไปเจอตาน้ำใต้ดินรูใหญ่ปริมาณมหาศาลแตกรั่วจนไม่อาจอุดน้ำได้ คนงานต้องหนีเอาชีวิตรอดกระเจิดกระเจิง ทิ้งให้รถขุดเจาะราคามากกว่าห้าสิบล้านถูกน้ำเกลือท่วมพังเสียหาย เกลือก็ยังไม่หยุดรั่วจากเหมืองออกมาปนเปื้อนดินและน้ำในไร่นาสาโท พืชผักริมน้ำ สัตว์น้ำตายเกลี้ยง ไม่เว้นแม้แต่พืชยืนต้นในท้องไร่ท้องนา เช่น ต้นมะขาม ต้นสะเดา ฯลฯ ก็วอดวายสิ้น
.
ครอบครัวหนึ่งสูญที่นาใกล้เหมืองไปสิบกว่าไร่จากน้ำเกลือที่หลากมาจากเหมือง รวมทั้งน้ำเกลือที่ผุดขึ้นมาจากใต้ผืนนาด้วย วันแล้ววันเล่า ๆ จึงทำให้ผืนดินขอบนาซึ่งเป็นคอกวัวและบ้านพักอาศัยอ่อนยวบจนทำให้วัวติดหล่มโคลนตายไปสี่ตัว ส่วนที่เป็นบ้านอยู่อาศัยก็ต้องซื้อดินมาถมทุกปีให้สูงขึ้นจากขอบนาเพื่อที่จะได้ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเพื่อกินและใช้สอยและให้บ้านร่มรื่น (ต้นไม้รอบบ้านที่ปลูกไว้ในพื้นดินเดิมตายลงไปจากความเค็มเกือบหมด) และป้องกันการอ่อนยวบที่ลุกลามมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งบัดนี้ที่นาตรงนั้นยังมีน้ำเกลือท่วมขังส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงทุกวัน ๆ
.
ภาพอุตสาหกรรมโปแตชที่ด่านขุนทดของนายวุฒิชัยชัดเจนมาตั้งแต่ยี่สิบปีก่อนเมื่อครั้งผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียนที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ บ้านเกิดเมืองนอนของตน ที่ต้องการให้เหมืองโปแตชต้องไม่ขุดเพียงแค่แร่โปแตชขึ้นมาขายเท่านั้น ต้องนำเกลือประเภทต่าง ๆ ที่เป็นผลพลอยได้ทั้งหมดมาพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีครบวงจรด้วย จะต้องต่อยอดโดยมีโรงงานรายรอบที่ใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการทำเหมืองโปแตช โดยไม่สนใจว่าจะเกิดการแย่งน้ำแย่งดินและพื้นที่จะเหมาะสม/ตรึงเครียดหรือไม่ต่ออุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ ที่จะผุดขึ้นตามมาอีกมากมาย สวนทางกับสิ่งที่หน่วยงานราชการพูดตลอดมาเพื่อพยายามลดกระแสต่อต้านด้วยการบอกว่าจะนำเกลือทุกชนิดที่ไม่ใช่โปแตชกลับไปถมในอุโมงค์เพื่อป้องกันการทรุดตัวของแผ่นดิน จึงไม่แปลกใจที่พบว่านายวุฒิชัยโดยบริษัทไทยคาลิได้ขุดเกลือใต้ดินขึ้นมาขายแล้วทั้ง ๆ ที่ยังขุดเจาะไปไม่ถึงชั้นโปแตช
.
ภาพที่เคยคาดเดาไว้ว่าหากมีเหมืองโปแตชขึ้นมาจริง ๆ แผ่นดินอีสานจะเป็นอย่างไร สิ่งที่ไม่อยากเห็นก็ได้เห็นจริง ๆ แล้วที่ด่านขุนทด
.
เป็นการทำเหมืองโปแตชที่สุดแสนเลวทราม
และเมื่อนึกภาพอีกสิบปีข้างหน้าถ้าหากเหมืองโปแตชที่นี่ยังดำเนินการต่อไป มันจะพังไปอีกถึงขั้นไหน
.
อาจจะยังไม่ถึงขั้นวิกฤติเท่าลำน้ำเสียวอันเป็นปฐมบทเริ่มต้นของการนำเกลืออีสานไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมแทนเกลือทะเล เมื่อการสำรวจน้ำบาดาลเพื่อนำมาใช้อุปโภคและบริโภคในภาคอีสานในยุคสงครามเย็นตามยุทธศาสตร์การทหารของอเมริกาที่ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ไทยมากมายในทุกด้าน โดยเฉพาะสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั้งหลาย ทั้งถนนหนทาง น้ำ ไฟ เขื่อน ฯลฯ เพื่อหวังจะพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวอีสานตามอุดมการณ์/แนวทางลัทธิเสรีประชาธิปไตยให้หันเหหนีห่างออกจากลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังล้มตามทฤษฎีโดมิโนไล่ตามกันมาเรื่อย ๆ จากรัสเซีย จีน เข้ามาในประเทศภูมิภาคอินโดจีนอย่างเวียตนาม ลาว กัมพูชา พบน้ำบาดาลจำนวนหลายแห่งมีความเค็มเข้มข้นสูง เช่นที่หนองบ่อ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม จนทำให้เกิดการสูบน้ำเกลือขึ้นมาต้มและตากในนาข้าวอย่างอึกทึกครึกโครม เกิดเป็นวิกฤติและหายนะจากความเค็มอย่างรุนแรงตลอดลำน้ำเสียวกว่า 200 กิโลเมตร ก่อนไหลลงลำน้ำมูลที่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ
.
แต่ที่ลำน้ำเสียวไม่เคยเห็นภาพวิกฤติและหายนะรุนแรงด้วยสายตาตัวเอง เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนช่วงเวลาที่จะเดินทางมาใช้ชีวิตอยู่ในอีสาน ได้แต่ไปเห็นลำน้ำเสียวหลังจากนั้นแล้วหลายปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาฟื้นฟูลำน้ำเสียวและผืนดินสองฝั่งลำน้ำเสียวจากความเค็มของหน่วยงานราชการและองค์กรความร่วมมือจากต่างประเทศ แต่ก็ยังเห็นร่องรอยของความเค็มที่ทิ้งไว้ในลำน้ำและผืนดินสองฝั่งลำน้ำในระดับที่ยังมีความเข้มข้นของเกลือสูงอยู่หลายจุด/พื้นที่
.
ส่วนการทำอุตสาหกรรมเกลือต้มและตากในนาข้าวด้วยการสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาในแถบ อ.โนนสูง โนนไทย ขามทะเลสอ พระทองคำ จ.โคราช อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่ทดแทนจากการที่รัฐบาลประกาศให้หยุดสูบน้ำเกลือขึ้นมาต้มและตากในนาข้าวในเขต อ.บรบือ อีกต่อไปนั้น ก็มีสภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมที่ดูแห้งแล้ง ไม่เจริญหูเจริญตา อุจาดตาต่อผู้พบเห็นทั้งผู้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่นและผู้ที่สัญจรไปมาตลอดทั้งปีก็เป็นภาพที่ไม่พังเท่าตำบลหนองไทร อ.ด่านขุนทด
.
ไม่รู้จะบรรยายภาพยังไงให้ได้เห็นอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงความพัง ครั้นจะถ่ายรูปก็ไม่เคยถ่ายรูปได้ดีให้เห็นถึงมุมมอง/องค์ประกอบครบถ้วนของภาพที่อยากจะสื่อแม้สักครั้งเดียว ที่นี่ความเค็มของเกลือที่รั่วไหลออกสู่ไร่นาชาวบ้านจากการทำเหมืองโปแตชของบริษัท ไทยคาลิ จำกัด บริษัทของนายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย อดีตนักการเมืองใหญ่ ที่อุตส่าห์ส่งลูกชายไปเรียนวิศวกรเหมืองแร่ที่เยอรมัน (เพื่อหวังให้กลับมาทำเหมืองโปแตชที่ไทย) เจ้าเทคโนโลยีทำเหมืองแร่โปแตชอันดับต้น ๆ ของโลก แต่กลับมาทำเหมืองโปแตชที่ด่านขุนทดได้ห่วยแตก มักง่าย ไร้ความรับผิดชอบที่สุดในโลก เป็นดังนี้
.
(1) ณ จุดที่น้ำรั่วซึมในบริเวณวัดหนองไทร ติดกับขอบบ่อพักน้ำของเหมืองมีค่าความเค็มอยู่ที่ 46.4 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 67,200 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 43,600 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
(2) น้ำในบ่อของวัดหนองไทร มีค่าความเค็มอยู่ที่ 29.3 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 44,800 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 29,100 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
(3) บริเวณน้ำหลากในที่นาประชาชน ก่อนไหลลงห้วยลำหลอด ที่อยู่ห่างจากเหมืองประมาณ 1.5 กิโลเมตร (วัดจากขอบบ่อพักน้ำของเหมืองที่ติดกับวัดหนองไทร) ใกล้ ๆ กับบ้านดอนแต้ว ต.หนองไทร มีค่าความเค็มอยู่ที่ 1.8 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 3,470 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 2,250 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
(4) น้ำในห้วยลำหลอด หรือห้วยลำมะหลอด บริเวณท้ายน้ำที่อยู่ห่างจากเหมืองประมาณ 1.5 กิโลเมตร (วัดจากขอบบ่อพักน้ำของเหมืองที่ติดกับวัดหนองไทร) ใกล้ ๆ กับบ้านดอนแต้ว ต.หนองไทร มีค่าความเค็มอยู่ที่ 1.4 กรัมต่อลิตร ค่าความนำไฟฟ้า 2,660 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 1,733 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
ซึ่งเป็นค่าของน้ำที่มีคุณภาพ 'ต่ำมาก มีเกลือมาก' ตามหลักวิชาการที่เปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพน้ำเพื่อการชลประทานตามระบบของอเมริกา (USSL, 1954) (ยกเว้นข้อ (4) ที่มีค่าความเค็มอยู่ที่ 1.4 กรัมต่อลิตร เป็นค่าของน้ำที่มีคุณภาพ 'ต่ำ มีเกลือมาก' ส่วนค่าความนำไฟฟ้า 2,660 ไมโครซีเมนส์ต่อเซ็นติเมตร ก็อยู่ในเกณฑ์ของน้ำที่มีคุณภาพ 'ต่ำมาก มีเกลือมาก' เช่นเดียวกับข้อ (1) - (3)) ซึ่งเป็นคุณภาพน้ำที่อันตรายต่อพืช สัตว์และมนุษย์ นำมาใช้ประโยชน์ใด ๆ ไม่ได้เลย
.
นี่คือผลตรวจสอบล่าสุดจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 (นครราชสีมา) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมานี่เอง
.
แต่ถ้าย้อนหลังกลับไปในปี 2562 สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 ก็เคยตรวจสอบมาแล้วครั้งหนึ่งในช่วงทำเหมืองใหม่ ๆ โดยบริษัทฯได้ทำการขุดเจาะอุโมงค์ก่อนได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมืองเพื่อนำเกลือใต้ดินขึ้นมาขาย* (ยังขุดเจาะไปไม่ถึงชั้นโปแตช) หลังจากได้ประทานบัตรเมื่อกรกฎาคม 2558 ซึ่งผลตรวจบริเวณบ่อเก็บน้ำทางทิศใต้ติดกับบริเวณเหมือง อยู่ในพื้นที่บ้านหนองไทร หมู่ 4 พบว่ามีค่าความเค็ม 78 กรัมต่อลิตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 78,672 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
(*ข้อสังเกต, ทั้ง ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดการทำเหมืองจากอุตสาหกรรมจังหวัดนครราชสีมาเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2563 เพราะก่อนหน้านั้นองค์ประกอบบนดินของการดำเนินกิจการทำเหมืองโปแตชใต้ดิน เช่น บ่อกักเก็บแร่ บ่อน้ำเกลือ ลานกองเกลือ โรงแต่งแร่ ฯลฯ ยังไม่แล้วเสร็จ ถึงแม้จะได้ประทานบัตรแล้วตั้งแต่กรกฎาคม 2558 ก็ยังดำเนินกิจการทำเหมืองไม่ได้ แต่กลับลักลอบขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินเพื่อนำเกลือใต้ดินขึ้นมาขายก่อน)
.
ที่บริเวณตาน้ำผุดทางทิศตะวันตกของเหมือง โดยมีระยะห่างประมาณ 200 เมตร อยู่ในพื้นที่บ้านหนองไทร หมู่ 4 มีค่าความเค็ม 7.5 กรัมต่อลิตร ค่าของแข็งละลายในน้ำทั้งหมด 8,688 มิลลิกรัมต่อลิตร
.
เรียกได้ว่าคุณภาพน้ำที่นั่นเลวร้ายขั้นสุดมาตั้งแต่ปี 2562 แล้ว
.
นี่ขนาดหยุดขุดเจาะมาตั้งแต่ปี 2563 เพราะเจาะไปเจอตาน้ำใต้ดินรูใหญ่ปริมาณมหาศาลแตกรั่วจนไม่อาจอุดน้ำได้ คนงานต้องหนีเอาชีวิตรอดกระเจิดกระเจิง ทิ้งให้รถขุดเจาะราคามากกว่าห้าสิบล้านถูกน้ำเกลือท่วมพังเสียหาย เกลือก็ยังไม่หยุดรั่วจากเหมืองออกมาปนเปื้อนดินและน้ำในไร่นาสาโท พืชผักริมน้ำ สัตว์น้ำตายเกลี้ยง ไม่เว้นแม้แต่พืชยืนต้นในท้องไร่ท้องนา เช่น ต้นมะขาม ต้นสะเดา ฯลฯ ก็วอดวายสิ้น
.
ครอบครัวหนึ่งสูญที่นาใกล้เหมืองไปสิบกว่าไร่จากน้ำเกลือที่หลากมาจากเหมือง รวมทั้งน้ำเกลือที่ผุดขึ้นมาจากใต้ผืนนาด้วย วันแล้ววันเล่า ๆ จึงทำให้ผืนดินขอบนาซึ่งเป็นคอกวัวและบ้านพักอาศัยอ่อนยวบจนทำให้วัวติดหล่มโคลนตายไปสี่ตัว ส่วนที่เป็นบ้านอยู่อาศัยก็ต้องซื้อดินมาถมทุกปีให้สูงขึ้นจากขอบนาเพื่อที่จะได้ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเพื่อกินและใช้สอยและให้บ้านร่มรื่น (ต้นไม้รอบบ้านที่ปลูกไว้ในพื้นดินเดิมตายลงไปจากความเค็มเกือบหมด) และป้องกันการอ่อนยวบที่ลุกลามมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งบัดนี้ที่นาตรงนั้นยังมีน้ำเกลือท่วมขังส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงทุกวัน ๆ
.
ภาพอุตสาหกรรมโปแตชที่ด่านขุนทดของนายวุฒิชัยชัดเจนมาตั้งแต่ยี่สิบปีก่อนเมื่อครั้งผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตชอาเซียนที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ บ้านเกิดเมืองนอนของตน ที่ต้องการให้เหมืองโปแตชต้องไม่ขุดเพียงแค่แร่โปแตชขึ้นมาขายเท่านั้น ต้องนำเกลือประเภทต่าง ๆ ที่เป็นผลพลอยได้ทั้งหมดมาพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีครบวงจรด้วย จะต้องต่อยอดโดยมีโรงงานรายรอบที่ใช้วัตถุดิบซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการทำเหมืองโปแตช โดยไม่สนใจว่าจะเกิดการแย่งน้ำแย่งดินและพื้นที่จะเหมาะสม/ตรึงเครียดหรือไม่ต่ออุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ ที่จะผุดขึ้นตามมาอีกมากมาย สวนทางกับสิ่งที่หน่วยงานราชการพูดตลอดมาเพื่อพยายามลดกระแสต่อต้านด้วยการบอกว่าจะนำเกลือทุกชนิดที่ไม่ใช่โปแตชกลับไปถมในอุโมงค์เพื่อป้องกันการทรุดตัวของแผ่นดิน จึงไม่แปลกใจที่พบว่านายวุฒิชัยโดยบริษัทไทยคาลิได้ขุดเกลือใต้ดินขึ้นมาขายแล้วทั้ง ๆ ที่ยังขุดเจาะไปไม่ถึงชั้นโปแตช
.
ภาพที่เคยคาดเดาไว้ว่าหากมีเหมืองโปแตชขึ้นมาจริง ๆ แผ่นดินอีสานจะเป็นอย่างไร สิ่งที่ไม่อยากเห็นก็ได้เห็นจริง ๆ แล้วที่ด่านขุนทด
.
เป็นการทำเหมืองโปแตชที่สุดแสนเลวทราม
ภาพและข้อความ เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น